สนับสนุน ของ ปฏิกิริยาต่อการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564

ผู้ประท้วงสตรีนิยมแสดงข้อความรณรงค์เกี่ยวกับอวัยวะเพศสตรีและแนวคิดสิทธิเสรีภาพของสตรีในการชุมนุมในกรุงเทพมหานคร

สำหรับข้อกังวลเกี่ยวกับโอกาสการรับเข้าทำงานของเยาวชนที่เข้าร่วมชุมนุมทางการเมือง ผู้เชี่ยวชาญทรัพยากรมนุษย์ตอบว่า คนที่จะได้รับผลกระทบมีเฉพาะผู้ที่มีฝ่ายทางการเมือง หรือมีผลประโยชน์ทับซ้อนทางการเมืองเท่านั้น[37]

มี ส.ส. สังกัดพรรคก้าวไกล ระบุว่าการพาดพิงถึงพระมหากษัตริย์ในการประท้วง (เช่น การล้อเลียน เสียดสี มีม ฯลฯ) เป็นความจริงที่น่ากระอักกระอ่วน และจำต้องให้ความสนใจ อย่างไรก็ดี หนังสือพิมพ์ ผู้จัดการ และอภิรัชต์ตอบโต้อย่างรุนแรง โดยมองว่าในผู้ประท้วงมีกลุ่มผู้ต้องการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์แอบแฝง หรือไม่นักศึกษาก็ตกเป็นเหยื่อของผู้อยู่เบื้องหลังที่มีเจตนาดังกล่าว[38] ศาสตราจารย์ อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เขียนว่า "เด็กเขาก็แสดงออกในสิ่งที่เขาคิด... ถามว่าทำไมเราถึงรู้สึกหวั่นไหว ตกอกตกใจ หรือสะดุ้งเวลาเห็นข้อความบางข้อความ เพราะว่าจุดที่เราสะดุ้งนั้น มันไม่ใช่จุดของเด็ก มันเป็นจุดของเราเอง เป็นเพดานของเรา แต่เด็กเขาไม่เห็นเพดาน เขายังไม่มีเพดาน ส่วนพวกเราที่ผ่านชีวิตมาแล้ว เราเห็นเพดาน หรือเราเห็นเส้นที่ห้ามแตะ ห้ามเกิน เป็นเส้นตัด" มีเด็กนักเรียนคนหนึ่งที่ถือป้ายทำนองดังกล่าวให้สัมภาษณ์ว่า "พี่เขาให้มา หนูก็รับ ไม่ได้คิดว่าจะมีปัญหา มันเป็นสิ่งที่ควรพูดได้ และไม่ควรมีใครต้อง 'เป็นบ้า' เพียงเพราะเขียนข้อความอะไรลงแผ่นกระดาษหรือบนเสื้อ"[39] ในวันที่ 28 กรกฎาคม อานนท์ นำภา โพสต์ว่า ทราบมาว่ามีการจัดตั้งกลุ่มคนมาทำร้ายผู้ชุมนุมตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคม[40]

นับแต่มีข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ สำหรับพรรคการเมืองมีเพียงพรรคก้าวไกลที่ออกมาสนับสนุนให้เปิดโอกาสแสดงออกแก่นักศึกษา[41] คณาจารย์อย่างน้อย 147 คนลงชื่อสนับสนุนเสรีภาพในการแสดงออกของนักศึกษาในวันที่ 10 สิงหาคม และระบุว่าเนื้อหาไม่ได้ขัดต่อกฎหมาย[42][43] และนักวิชาการเครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมืองอย่างน้อย 358 สนับสนุนการประท้วง[43] บุคลากรโรงเรียนบางส่วนสนับสนุนการแสดงออกของนักเรียน[44]

มารีญา พูลเลิศลาภ นางงาม แสดงจุดยืนเข้ากับผู้ประท้วง[45] ต่อมาเธอเล่าว่าตนได้รับผลกระทบจากการสนับสนุนดังกล่าว นักแคสเกมที่มีชื่อเสียงที่ใช้ชื่อว่า ฮาร์ตร็อกเกอร์ ก็แสดงความสนับสนุนเช่นกัน[46] หลังมีข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ในต้นเดือนสิงหาคม ผู้กำกับ ทรงยศ สุขมากอนันต์, ดารา พีรวัส แสงโพธิรัตน์, ศดานนท์ ดุรงคเวโรจน์ ประกาศสนับสนุนการประท้วง[47] เช่นเดียวกับสมาชิกบีเอ็นเคโฟร์ตีเอตห้าคน อาทิ แพรวา สุธรรมพงษ์[48][49]

ศัลยแพทย์หญิง[50]คนหนึ่งถูกไล่ออกเพราะลงนามสนับสนุนผู้ประท้วง[51]ไชยอมร แก้ววิบูลย์พันธุ์ นักร้องถูกไล่ออกเช่นเดียวกัน[52]

วันที่ 18 สิงหาคม ยูนิเซฟออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ทุกฝ่ายรับรองความปลอดภัยของผู้ชุมนุมเด็กและเยาวชน โรงเรียนและสถานศึกษาเป็นที่แสดงออกและแลกเปลี่ยนความเห็นอย่างสร้างสรรค์[53]

สำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติและองค์การนิรโทษกรรมสากลรับรองสภาพสงบของการชุมนุม และประณามการสลายการชุมนุม[54][55] ผู้อำนวยการฮิวแมนไรต์วอชเอเชียกล่าวว่า การทำให้การชุมนุมโดยสงบเป็นความผิดเป็นสัญลักษณ์ของการปกครองระบอบเผด็จการ ทั้งเรียกร้องให้สหประชาชาติและรัฐบาลนานาประเทศประณามด้วย และให้ปล่อยตัวนักโทษ[56] นักเคลื่อนไหวชาวฮ่องกง โจชัว หว่อง โพสต์ทวิตเตอร์แสดงความเป็นอันหนึ่งเดียวกับผู้ประท้วง และขอให้ทั่วโลกสนใจการประท้วงในประเทศไทย[57]

หนังสือพิมพ์ ข่าวสด และ บางกอกโพสต์ เขียนบทบรรณาธิการเรียกร้องให้ประยุทธ์ลาออกเพื่อลดความขัดแย้ง แต่ทั้งสองไม่ได้กดดันข้อเรียกร้องรัฐธรรมนูญฉบับใหม่และการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์[58][59]

วันที่ 23 ตุลาคม กลุ่มประชาสังคมในเกาหลีใต้เรียกร้องให้รัฐบาลเลิกส่งออกรถติดตั้งปืนฉีดน้ำแรงดันสูงแก่ทางการไทย[60]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ปฏิกิริยาต่อการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564 //www.worldcat.org/issn/1999-2521 //www.worldcat.org/oclc/1059452133 //www.worldcat.org/oclc/7179244833 https://thisrupt.co/current-affairs/global-conspir... https://thisrupt.co/current-affairs/whores-sluts-w... https://www.aljazeera.com/news/2020/08/thai-pm-pro... https://www.amarintv.com/news/detail/39223 https://www.asiasentinel.com/p/thailand-shuts-stro... https://asiatimes.com/2020/08/new-generation-of-da... https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/853219